กิจกรรมวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

27 กรกฎาคม 2566

วันที่ 28 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 วันเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 71 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่  10 โรงเรียนโพธิ์ทองวิทยาคาร โดยท่านผู้อำนวยการกิตติชัย สุดานิช รองผู้อำนวยการปิยะ โกฎแสน คณะครู บุคลากร นักเรียนณ ร่วมกันลงนามถวายพระพร ณ หอประชุมโรงเรียนโพธิ์ทองวิทยาคาร

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง


[หน้าหลัก] [ขึ้นบนสุด]

ดูภาพกิจกรรมอื่นๆ  

 

วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา

วันที่ 27 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 โรงเรียนโพธิ์ทองวิทยาคารนำโดยท่านผู้อำนวยการกิตติชัย สุดานิช คณะครู บุคลากร และนักเรียน ร่วมกันทำบุญเนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาที่วัดโพธิ์ศรีทอง บ้านนาโพธิ์ ต.โพธิ์ทอง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ร่วมทอดถวายเทียนพรรษและปัจจัยเพื่อทำนุบำรุงพระศาสนา พร้อมรับฟังคำเทศนาสั่งสอนจากพระภิกษุสงฆ์

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง


[หน้าหลัก] [ขึ้นบนสุด]

ดูภาพกิจกรรมอื่นๆ  

 

ค่ายคุณธรรมจริยธรรมประจำปี

วันที่ 7 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 โรงเรียนโพธิ์ทองวิทยาคารจัดกิจกรรมค่ายคุณธรรมจริยธรรมประจำปี ณ หอประชุมโรงเรียนโพธิ์ทองวิทยาคาร โดยได้รับความอนุเคราะห์จากพระอาจารย์สิริโชติ สิริปัญโญ เป็นพระวิทยากรให้ความรู้แก่ครูนักเรียน


     นายกิตติชัย สุดานิช ผู้อำนวยการโรงเรียนกล่าวเปิดกิจกรรม


พิธีถวายตัวเป็นศิษย์


กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระ



กิจกรรมกลุ่มและการนำเสนอ


กิจกรรมนั่งสมาธิ


รับประทานอาหารเที่ยง


ผู้ข้อต่อแขนรับขวัญนักเรียน

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง


[หน้าหลัก] [ขึ้นบนสุด]

ดูภาพกิจกรรมอื่นๆ  

 

วันออกพรรษา

ประวัติวันออกพรรษา

          เมื่อเทศกาลเข้าพรรษาผ่านพ้นไปถึง 3 เดือน ก็จะเป็นช่วงเวลาของ "วันออกพรรษา" ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่วัดในช่วงฤดูฝนตลอด 3 เดือนของพระภิกษุสงฆ์ โดยวันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า "วันมหาปวารณา" คำว่า "ปวารณา" แปลว่า อนุญาตหรือยอมให้ 

          ทั้งนี้ วันออกพรรษา พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ที่เรียกว่า มหาปวารณา ในวันออกพรรษา ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกันได้ เนื่องจากในระหว่างที่เข้าพรรษาอยู่ด้วยกัน พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข และการให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนก็จะทำให้รู้ข้อบกพร่องของตน อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันได้ด้วย พระผู้ใหญ่ก็กล่าวตักเตือนพระผู้น้อยได้ และพระผู้มีอาวุโสน้อยก็สามารถชี้แนะถึงข้อไม่ดีของพระผู้ใหญ่ได้เช่นกัน แม้พระผู้ใหญ่จะมีอาวุโสมากกว่า แต่ท่านก็มิได้สำคัญตนผิดคิดว่าท่านทำอะไรแล้วถูกไปหมดทุกอย่าง เพื่อเป็นเครื่องมือชี้ให้เห็นวิธีการคอยสังวร คือ ตามระวัง ไม่ประมาท ไม่ยอมให้ความเลวร้ายเกิดขึ้นได้ เหมือนล้อมรั้วไว้ก่อนที่วัวจะหาย ไม่ว่าจะอยู่ในเทศกาลเข้าพรรษาหรือออกพรรษา พระท่านจะประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ตามระบอบของพระธรรมวินัยอยู่ตลอดเวลา

          สำหรับคำกล่าว ปวารณา มีคำกล่าวเป็นภาษาบาลี ดังนี้ "สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัสมันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ" มีความหมายว่า "ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียใหม่ให้ดี"

          เมื่อทำพิธีวันออกพรรษาแล้ว พระภิกษุสงฆ์สามารถจาริกไปในสถานที่ต่าง ๆ หรือค้างคืนที่อื่นได้โดยไม่ผิดพระพุทธบัญญัติ และยังได้รับอานิสงส์ก็คือ  

          - ไปไหนไม่ต้องบอกลา
          - ไม่ต้องถือผ้าไตรครบชุด
          - มีสิทธิ์รับลาภที่เกิดขึ้นได้
          - มีโอกาสได้อนุโมทนากฐิน ที่จะสามารถขยายเวลาของอานิสงส์ออกไปอีก 4 เดือน

ประเพณีเกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา
          ประเพณีเกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา นิยมปฏิบัติอยู่ 2 อย่าง คือ

1. ประเพณีตักบาตรเทโว หลังวันออกพรรษา

          หลังวันออกพรรษา 1 วัน คือ แรม 1 ค่ำ เดือน 11 จะมีการ "ตักบาตรเทโว" หรือชื่อเต็มตามคำพระว่า "เทโวโรหณะ" แปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก โดยสามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ตักบาตรดาวดึงส์" โดยอาหารที่นิยมนำไปใส่บาตรคือ ข้าวต้มมัด และข้าวต้มลูกโยน
          ความเป็นมาของประเพณีตักบาตรเทโว มีดังนี้  

          สมัยพุทธกาล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม และเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาโดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา 1 พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้วพระองค์ได้เสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ณ สังกัสสะนคร การที่พระพุทธองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกตามศัพท์ภาษาบาลีว่า "เทโวโรหณะ" ในครั้งนั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีความศรัทธาเลื่อมใส เมื่อทราบข่าวต่างพร้อมใจกันไปรอตักบาตรเพื่อรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น จนถือเป็นประเพณีตักบาตรเทโวที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

          โดยพิธีตักบาตรเทโวโรหณะในปัจจุบันนั้นจะเริ่มตั้งแต่รุ่งอรุณหลังวันออกพรรษา พระภิกษุสามเณรลงทำวัตรในพระอุโบสถ พอพระอาทิตย์ขึ้นก็สมมติว่าพระลงมาจากบันไดสวรรค์ บางที่ก็มีดนตรีบรรเลงเพลงไทยเดิม สมมติว่าเป็นพวกเทวดาบรรเลง ขับกล่อมตามส่งพระพุทธเจ้า ยังมีพวกแฟนตาซีอีก แต่งเป็นพวกยักษ์ เทวดา พระอินทร์ พระพรหม นางเทพธิดา นำหน้าขบวนพระภิกษุ สามเณร ชาวบ้านก็จะใส่บาตรด้วยอาหารหวาน อาหารคาว ข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มมัด จึงเป็นสัญลักษณ์ของพิธีนี้

2. ประเพณีเทศน์มหาชาติ หลังวันออกพรรษา
          งานเทศน์มหาชาติ นิยมทำกันหลังวันออกพรรษา พ้นหน้ากฐินไปแล้ว ซึ่งกฐินจะทำกัน 1 เดือน หลังออกพรรษา ที่จะร่วมกันทอดกฐินทั้งจุลกฐินและมหากฐิน โดยประเพณีงานเทศน์มหาชาติอาจทำในวันขึ้น 8 ค่ำ กลางเดือน 12 หรือในวันแรม 8 ค่ำ ก็ได้ เพราะในช่วงนี้น้ำเริ่มลด และข้าวปลาอาหารกำลังอุดมสมบูรณ์ จึงพร้อมใจกันทำบุญทำทานและเล่นสนุกสนานรื่นเริง แต่ในภาคอีสานนั้นนิยมทำกันในเดือน 4 เรียกว่า "งานบุญพระเวส" ซึ่งเป็นช่วงที่เสร็จจากการทำบุญลานเอาข้าวเข้ายุ้ง ส่วนภาคกลาง บางท้องถิ่นทำกันในเดือน 5 ต่อเดือน 6 ก็มี

          งานเทศน์มหาชาตินั้นจะทำในเดือนไหนก็ได้ไม่จำกัดฤดูกาล โดยมากเพื่อเป็นการหาเงินเข้าวัด บางแห่งนิยมทำในเดือน 10 โดยการเทศน์มหาชาตินั้นมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 13 กัณฑ์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเวสสันดรอันเป็นพระชาติสุดท้ายของพระบรมโพธิสัตว์ ก่อนที่จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และออกบวชจนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

กิจกรรมวันออกพรรษา
          1. ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ
          2. ฟังพระธรรมเทศนา รักษาศีล ถวายสังฆทาน ถวายภัตตาหาร หรือจัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาที่วัด และฟังพระธรรมเทศนา
          3. ร่วมกุศลธรรม "ตักบาตรเทโว"
          4. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ ประดับธงชาติและธงธรรมจักรตามวัดและสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
          5. ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือบรรยายธรรม เกี่ยวกับวันออกพรรษา ฯลฯ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป
          6. งดการเที่ยวเตร่ ละเว้นอบายมุข รวมทั้งละเว้นการฆ่าสัตว์และบริโภคเนื้อสัตว์

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำพิธีวันออกพรรษา จะมีดังต่อไปนี้
          - เตือนสติว่าเวลาที่ผ่านพ้นไปอีกพรรษาหนึ่งแล้วได้คร่าชีวิตมนุษย์ ให้ผู้คนนั้นดำรงอยู่ในความไม่ประมาทและหันมาสร้างกุศล
          - การทำบุญออกพรรษาจะเปิดโอกาสให้ผู้อื่นชำระความผิดของตนได้ คือหลักปวารณา ปกติคนเราคบกันนาน ๆ ก็จะเผย "สันดาน" ที่แท้ออกมา อาจจะไม่ดีนัก แต่ตนเองไม่รู้ตัวแล้วมองไม่เห็น แต่ผู้อยู่ข้าง ๆ มองเห็นแต่ไม่กล้าเตือน ดังนั้น ตนเองต้องปวารณาตัวให้ผู้อื่นชี้แนะได้ ความสัมพันธ์ก็จะดีขึ้นและยั่งยืน
          - ได้ข้อคิดที่ว่า คนเราส่วนใหญ่มักจะลำเอียงเข้าข้างว่าตนเองเป็นฝ่ายถูก ความผิดของคนอื่นเห็นง่าย ส่วนตนเองนั้นความผิดนั้นเห็นยาก นี่แหละสัญชาตญาณของคนเรา
          - เป็นการให้รู้ถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในการเปิดใจซึ่งกันและกัน โดยไม่มีเล่ห์เหลี่ยมลับลมคมในใด ๆ ในการคบหาหรืออยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

 

กิจกรรมวันออกพรรษาโรงเรียนโพธิ์ทองวิทยาคาร

news/66-67/661028_aokpansa/pwk

ที่มาของข้อมูล 

https://www.thaipbs.or.th/news/content/332849
https://hilight.kapook.com/view/26828

https://pna.onab.go.th/th/content/page/index/id/8097
https://watmatchan.net/sumpicmahachad61/

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง


[หน้าหลัก] [ขึ้นบนสุด]

ดูภาพกิจกรรมอื่นๆ  

 


กิจกรรมวันสถาปนาโรงเรียนโพธิ์ทองวิทยาคาร ปีที่ 39

วันที่ 10 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 โรงเรียนโพธิ์ทองวิทยาคารจัดกิจกรรมวันสถาปนาโรงเรียนโพธิ์ทองวิยาคาร ปีที่ 39 ณ หอประชุมโรงเรียนโพธิ์ทองวิทยาคาร


สักการะศาลเจ้าปู่คำผา


ทำบุญตักบาตร


พิธีถวายตัวเป็นศิษย์


ถวายภัตตาหาร


รับศีลรับพร ประพรมน้ำพระพุทธมนต์

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง


[หน้าหลัก] [ขึ้นบนสุด]

ดูภาพกิจกรรมอื่นๆ