กิจกรรมทัศนศึกษา

     โรงเรียนโพธิ์ทองวิทยาคารจัดกิจกรรมทัศนศึกษาประจำปีการศึกษา 2566 ที่จังหวัดศรีษะเกษ วันศุกร์ที่ 15 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยไปศึกษาเรียนรู้ใน 4 สถานที่ประกอบด้วย วัดพระธาตุเรืองรอง สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ Sisaket Aquarium และวัดป่าศรีมงคลรัตนาราม


ทัศนศึกษา ณ วัดพระธาตุเรืองรอง จ.ศรีษะเกษ


ทัศนศึกษา ณ Sisaket Aquarium


ทัศนศึกษา ณ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์


ทัศนศึกษา ณ วัดป่าศรีมงคลรัตนาราม

 

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง


[หน้าหลัก] [ขึ้นบนสุด]

ดูภาพกิจกรรมอื่นๆ  

 


กิจกรรมวันวิทยาศาสตร์

วันที่ 23 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 โรงเรียนโพธิ์ทองวิทยาคารจัดกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์ประจำปีการศึกษา 2566 ณ หอประชุมโรงเรียนโพธิ์ทองวิทยาคาร มีการจัดการแข่งขันต่างๆ โดยเริ่มแข่งขันในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ประกอบด้วยกิจกรรม การวาดภาพทางวิทยาศาสตร์ การพูดทางวิทยาศาสตร์ การตอบปัญหาทางวิทยาศาสตร์ การแข่งขันจรวดขวดน้ำ

ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ได้จัดกิจกรรมรวมที่หอประชุมโรงเรียนโพธิ์ทองวิทยาคาร เป็นการนำเสนอผลงานของสาระต่างๆ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบด้วย สาขาวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ สาขาเคมี สาขาชีววิทยา สาขาเทคโนโลยี และผลงานของกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ มีกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานและได้ความรู้ เสริมประสบการณ์ให้กับนักเรียนได้อีกทางหนึ่ง

นอกจากนั้นยังมีการแสดงดนตรีโฟล์กซองของชุมนุมดนตรีโรงเรียนโพธิ์ทองวิทยาคาร และการประกวดชุดรีไซเคิลของนักเรียนแต่ละห้อง สร้างความสนุกสนาน พร้อมได้ความรู้ เสริมประสบการณ์ให้นักเรียนได้อีกทางหนึ่ง


เยี่ยมชมนิทรรศกาลของสาขาต่างๆ


เยี่ยมชมนิทรรศกาลของสาขาต่างๆ


เยี่ยมชมนิทรรศกาลของสาขาต่างๆ



Sine Show


การแข่งขันจรวดขวดน้ำ


การประกวดชุดรีไซเคิล

การแสดง Cover Dance


การแข่งขัน ROV Fighting


การแสดงดนตรีของชุมนุมดนตรีโรงเรียนโพธิ์ทองวิทยาคาร

ดูอัลบัมภาพวันวิทยาศาสตร์

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง


[หน้าหลัก] [ขึ้นบนสุด]

ดูภาพกิจกรรมอื่นๆ  

 

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 


วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นวันสำคัญของประเทศไทย และมีความสำคัญต่อวงการวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ไทย กำหนดให้ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกๆปีซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ พ.ศ. 2411 ที่บ้านหว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปัจจุบันมีการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ขึ้นเป็นประจำทุกปี

ประวัติ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉายภาพร่วมกับเจ้าเมืองสิงคโปร์และแขกต่างประเทศ ณ บ้านหว้ากอ รัฐบาลไทยกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติเนื่องจากวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินชลมารคและสถลมารค ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงที่หว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ตรงเกาะจานขึ้นไปถึงปราณบุรี และลงไปถึงแขวงเมืองชุมพร จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ มีคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์

ผลการคำนวณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแม่นยำมาก เซอร์แฮรี ออด บันทึกเหตุการณ์ไว้ซึ่งต่อมาหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้แปลเป็นภาษาไทยในงานหว้ากอรำลึก ณ ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2518 ว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระสำราญมาก เพราะการคำนวณเวลาสุริยุปราคาของพระองค์ ได้พิสูจน์แล้วว่าถูกถ้วนที่สุด ถูกถ้วนยิ่งกว่าที่ชาวยุโรปได้คำนวณไว้"

สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยเฉพาะทางด้านดาราศาสตร์ มีแนวคิดว่าน่าจะถือเอาวันที่ 18 สิงหาคมเป็นวันวิทยาศาสตร์ไทย ต่อมาวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2511 หลายหน่วยงาน เช่น สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ กรมอุทกศาสตร์ กรมชลประทาน กรมแผนที่ทหาร กรมอุตุนิยมวิทยา กรมไปรษณีย์โทรเลข ฯลฯ ได้ร่วมกันจัดงานขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงสนพระทัยวิชาคณิตศาสตร์และวิชาดาราศาสตร์ในตำราโหราศาสตร์ของไทย ในที่สุดพระองค์ทรงได้ค้นคิดวิธีการคำนวณปักข์ (ครึ่งเดือนทางจันทรคติ) เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวันธรรมสวนะ (วันพระ) ให้ถูกต้องตามการโคจรของดวงจันทร์ที่เรียกว่า "ปฏิทินปักขคณนา" (ปักขคณนา คือ วิธีนับปักข์หรือรอบครึ่งเดือนของข้างขึ้นข้างแรม เป็นวิธีนับที่แม่นยำสูง) และทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ทำปฏิทินจันทรคติพระทุกปี แทนปฏิทินฆราวาส ขณะเดียวกันพระองค์ได้ทรงค้นคิดสูตรสำเร็จในการคำนวณปักข์ออกมาในรูปกระดาน ไม้สี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อจะได้วันพระที่ถูกต้องโดยไม่ต้องเสียเวลาคำนวณ และมีชื่อเรียกว่า "กระดานปักขคณนา" ซึ่งปัจจุบัน ยังคงมีให้เห็นในวัดสายธรรมยุต. เช่น วัดราชาธิวาส พระปรีชาสามารถด้านดาราศาสาตร์นั้นน่าจะเริ่มตั้งแต่ทรงทอดพระเนตรดาวหางเมื่อทรงพระเยาว์. ซึ่งพระองค์ยังได้ทรงออกประกาศแจ้ง ชื่อ ประกาศดาวหางขึ้นอย่าได้วิตก เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ไม่ให้เชื่อตามคำเล่าลือที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น.ซึ่งนับเป็นประกาศทางวิทยาศาสตร์ฉบับแรกของประเทศ


ทรงคำนวณปฏิทินการเกิดสุริยุปราคา

ในพระราชฐานของพระองค์ ทั้งที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดจะมีหอดูดาว โดยเฉพาะหอชัชวาลเวียงชัย ในบริเวณพระนครคีรีหรือเขาวัง พระราชวังสำหรับแปรพระราชฐาน อยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี ที่มีความสำคัญมากในประวัติศาสตร์วิชาดาราศาสตร์ของไทย ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้เป็นสถานที่สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ ในการรักษาเวลามาตรฐานของประเทศไทยต่อไป ดังนั้นหอนี้จึงเป็นอนุสรณ์แห่งสัมฤทธิผลในทางวิทยาศาสตร์เรื่องระบบเวลา พระองค์ทรงสถาปนาระบบเวลามาตรฐานขึ้นในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2395 โดยสร้างพระที่นั่งภูวดลทัศไนยขึ้นในพระบรมราชวัง ใช้เป็นหอนาฬิกาหลวงบอกเวลามาตรฐานของประเทศไทยสมัยนั้น โดยมีพนักงานตำแหน่งพันทิวาทิตย์ เทียบเวลาตอนกลางวันจากดวงอาทิตย์ และพันพินิตจันทรา เทียบเวลาตอนกลางคืนจากดวงจันทร์

ต่อมาในวันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค โดยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชจากท่านิเวศวรดิษฐ์ไปยังบ้านหว้ากอ พร้อมด้วยพระราชโอรส พระราชธิดา รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ (รัชกาลที่ 5) ขณะพระชนมายุ 16 พรรษา กับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชบริพารจำนวนมาก ด้วยทรงตั้งพระปณิธานแน่วแน่ที่จะพิสูจน์ผลการคำนวณของพระองค์ เพื่อทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงและชัดเจนที่สุด คือ ที่หมู่บ้านหัววาฬ ตำบลหว้ากอ เมืองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่บริเวณ เกาะจาน ขึ้นไปถึงปราณบุรี และลงไปถึงเมืองชุมพร จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ พร้อมกับเชิญคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์ ซึ่งเมื่อถึงวันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 เหตุการณ์ก็เป็นไปตามที่พระองค์ทรงพยากรณ์ทุกประการ ไม่คลาดเคลื่อนแม้แต่วินาทีเดียว


ทรงทอดพระเนตรการเกิดสุริยุปราคา ณ บ.ว่ากอ ต.คลองวาฬ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์

สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มีแนวคิดว่าน่าจะถือเอาวันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์ไทย ต่อมาวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" และต่อมาได้มีการสร้าง "อุทยานวิทยาศาสตร์" ที่ บ้านหว้ากอ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออุทยานนี้ว่า "อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" และได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมรูปหล่อประทับนั่งบนพระเก้าอี้ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเรือ ชุดเดียวกับวันที่พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินมาบ้านหว้ากอ


แขกชาวต่างชาติที่มาร่วมชมการเกิดสุริยุปราคา ณ หว้ากอ

นอกจากนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2527 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 18–24 สิงหาคม โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการต่างๆ จนได้รับความสนใจทั้งจากภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป ซึ่งทำให้คณะรัฐมนตรีได้เล็งเห็นความสำคัญ ดังนั้น เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2528 คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินการจัดงาน "สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ" เป็นประจำทุกปี ระหว่างวันที่ 18–24 สิงหาคม วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2511 หลายหน่วยงาน เช่น สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ กรมอุทกศาสตร์ กรมชลประทาน กรมแผนที่ทหาร กรมอุตุนิยมวิทยา กรมไปรษณีย์โทรเลข ฯลฯ ได้ร่วมกันจัดงานขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น


อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ


2567 “รอการประกาศ”


2566 “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคม”
2565 : ไม่ได้กำหนดคำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยจัดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำปี 2565 ภายใต้แนวคิด "ศิลปะ วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อสังคมที่ยั่งยืน (Art - Science - Innovation for Sustainable Society)"
2564 ไม่ได้กำหนดคำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
2563 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม
2562 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม
2561 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม
2560 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม
2559 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม
2558 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม
2557 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2556 ทันโลก ทันวิทย์ จุดประกายความคิดสู่อาเซียน
2555 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์
2554 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์
2553 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์
2552 วิทยาศาสตร์ก้าวไกล นำไทยก้าวหน้า
2551 วิทยาศาสตร์สร้างชาติ สร้างอนาคต
2550 วิทยาศาสตร์สร้างปัญญาในสังคม
2549 เศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่ไทย ก้าวไกลด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2548 วิทยาศาสตร์คือความรู้สู่ความสำเร็จ
2547 เศรษฐกิจของชาติมีปัญหา วิทยาศาสตร์มีคำตอบ
2546 เส้นทางแห่งการค้นพบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คุณค่าแห่งภูมิปัญญา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
2545 วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย
2544 วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย
2543 พัฒนาคน พัฒนาชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2542 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตไทยที่ยั่งยื่น
2541 พัฒนาเศรษฐกิจด้วยวิทยาศาสตร์ พัฒนาชาติด้วยภูมิปัญญาไทย
2540 พัฒนาคน พัฒนาชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2539 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกล พัฒนาชาติไทยให้ก้าวหน้า
2538 เทคโนโลยีสารสนเทศก้าวไกล เศรษฐกิจไทยมั่นคง
2537 ขจัดปัญหาน้ำของชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2536 วิทยาศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจ เพิ่มคุณค่าชีวิต พิทักษ์สิ่งแวดล้อม
2535 เปลี่ยนขาดทุนให้เป็นกำไร โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2534 ขจัดมลพิษทุกชีวิตจะปลอดภัย
2533 เพิ่มคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2532 พิทักษ์สิ่งแวดล้อมของชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาและวัฒนธรรม จ.ร้อยเอ็ด

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://th.wikipedia.org/ | อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ | https://www.naewna.com/lady/596608 |


วันวิทยาศาสตร์โรงเรียนโพธิ์ทองวิทยาคาร ปีการศึกษา 2567


หน้าหลัก